Categories
การพัฒนาซอฟท์แวร์

การเลือกใช้ Integer ใน Golang

การเลือกใช้ Integer ใน Golang

Golang เป็นภาษาที่มีประเภทของ Integer มากกว่าภาษาอื่นบางภาษา จากตัวเลือกที่ค่อนข้างเยอะ บางครั้งเราอาจสงสัยว่าเมื่อใดที่เราควรใช้ Integer ประเภทใด บทความนี้แนะนำการเลือกใช้ Integer ใน Golang ครับ

ก่อนที่เราจะไปดูหลักเกณฑ์ในการเลือกใช้ เรามาดูกันก่อนว่า Golang มี Integer กี่แบบ

ประเภทขนาด ช่วงของข้อมูลที่เก็บได้
int88 bits-128 ถึง 127
int1616 bits-32768 ถึง 32767
int3232 bits–2147483648 ถึง 2147483647
int6464 bits–9223372036854775808 ถึง 9223372036854775807
uint88 bits0 ถึง 255
uint1616 bits0 ถึง 65536
uint3232 bits0 ถึง 4294967295
uint6464 bits0 ถึง 18446744073709551615
ตาราง แสดงประเภทและช่วงข้อมูลที่เก็บได้สำหรับ Integer แต่ละชนิดใน Golang

นอกจากนี้ Golang ยังมี int และ uint ซึ่งขนาดของมันสามารถเป็นได้ทั้ง 32 bits หรือ 64 bits ขึ้นกับ platform เช่น ถ้าบนเครื่อง 32-bits compiler ก็จะใช้ค่า int และ uint เป็น 32 bits

ในทางตรงข้าม ถ้าบนเครื่อง 64-bits ส่วนใหญ่แล้ว compiler ก็จะใช้ค่า int และ uint เป็น 64 bits (แต่จาก FAQ ของ Golang เค้าบอกว่าไม่ได้เป็นอย่างนี้เสมอไป แต่ก็ไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรเพิ่มเติม และผมเองก็หาข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้ด้วยครับ)

FAQ : size ของ int ใน golang

Zero value

ถึงแม้ Golang จะมีประเภทของ Integer หลายประเภท แต่ค่า zero value ของ Integer ทุกประเภท คือ 0

เลือกประเภทของ Integer

เมื่อเรารู้จัก Integer แต่ละประเภทใน Golang แล้ว การเลือกว่าจะใช้ Integer ประเภทใด มีหลักที่เรียบง่ายอยู่ 3 ข้อ คือ

1. ถ้ารู้ขนาดและเครื่องหมาย

ถ้าเราทำงานกับ Binary file หรือ Network protocol หรือข้อมูลที่เรารู้ขอบเขตของขนาดข้อมูลและเครื่องหมายว่าเป็นจำนวนเต็มบวกหรือลบอย่างแน่นอนล่วงหน้าแล้ว ให้เราเลือกใช้ Integer เจาะจงประเภทใดประเภทหนึ่งจากตารางข้างบนไปเลย

2. ถ้าต้องรองรับ Integer ประเภทใดก็ได้

ถ้าเราต้องเขียน Function ที่ควรทำงานกับจำนวนเต็มประเภทใดก็ได้ ให้เขียน function มาคู่หนึ่ง โดยที่ function หนึ่งมี parameter เป็น int64 และอีก function หนึ่งมี parameter เป็น uint64

💡 เราสามารถเห็น pattern นี้ได้ใน Go standard library เช่น ฟังก์ชัน FormatInt / FormatUint หรือ ParseInt / ParseUint ใน strconv package

เหตุผลที่ int64 และ uint64 เหมาะสมในสถานการณ์นี้ เพราะในตอนนี้ Golang ยังไม่มี Generics (เฉพาะตอนนี้) และ Golang ไม่มี Function Overloading อีกด้วย จากเหตุผลเหล่านี้ ส่งผลให้เราต้องเขียนหลาย Function และต้องตั้งชื่อให้ต่างกัน

การใช้ int64 และ uint64 ช่วยให้เราเขียน Function แค่ครั้งเดียว แล้วให้ผู้ที่เรียกใช้แปลงค่า Arguments ที่จะส่งให้ Function และแปลงค่าที่รับคืนจาก Function ได้เองไม่ยากนัก

💡 แต่ถ้าขนาดของ Integer มีความสำคัญ เราควรเขียน Function แยกให้กับ Integer แต่ละประเภท เหมือนกับ math/bits package

3. กรณีอื่น ๆ

กรณีอื่น ๆ นอกจากข้อ (1) และ (2) ให้ใช้ int

จนกว่าเราจะมีข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนถึงเรื่องขนาดและเครื่องหมายของจำนวนเต็ม เราจึงค่อยเปลี่ยนไปใช้ Integer ประเภทอื่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพครับ

อ้างอิง

Categories
การพัฒนาซอฟท์แวร์

รีวิวหนังสือ Head First Go

หนังสือ Head First Go
หนังสือ Head First Go

หนังสือ Head First Go เล่มนี้ เป็นหนังสือ Golang ที่ผมคิดว่าอ่านง่าย อ่านสนุกมาก

สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งหัดเขียน Golang หนังสือเล่มนี้เหมาะมากที่จะอ่านเป็นเล่มแรก ๆ เพราะมีรูปภาพประกอบการอธิบาย ให้เข้าใจได้ง่าย มีรูปอธิบายโค้ดแต่ละบรรทัด และโค้ดตัวอย่างก็ไม่ยาวจนเกินไป ผมคิดว่ารูปประกอบในหนังสือเล่มนี้ช่วยให้จำ syntax และเข้าใจหัวข้อต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นมาก

ตัวอย่างการอธิบายโค้ด Golang ในหนังสือ Head First Go
ตัวอย่างรูปประกอบการอธิบายเนื้อหา
ตัวอย่างการอธิบายโค้ด Golang ในหนังสือ Head First Go
ตัวอย่างรูปประกอบการอธิบายเนื้อหา
ตัวอย่างการอธิบายโค้ด Golang ในหนังสือ Head First Go
ตัวอย่างรูปประกอบการอธิบายเนื้อหา

ในฐานะคนที่เขียน Golang มานานแล้ว ผมก็ชอบหนังสือเล่มนี้นะครับ ผมชอบวิธีอธิบาย ชอบรูปประกอบ เพราะช่วยให้เราจำสิ่งที่เรารู้อยู่แล้วได้ง่ายขึ้น และยังช่วยให้เราได้เทคนิคใหม่ ๆ เพื่อนำไปใช้อธิบายคนอื่นต่อได้ด้วย

อีกส่วนที่ผมชอบมาก คือ หัวข้อ “there are no Dumb Questions” ที่มีแทรกอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งจะตอบคำถามสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งจะมาเรียนรู้ Golang แล้วสงสัยว่า

  • ทำไม Golang ไม่มีสิ่งนี้ ?
  • ในภาษาอื่นทำแบบนี้ แต่ทำไม Golang ทำอีกแบบนึง ?
ผมชอบเนื้อหาส่วน "there are no Dumb Questions" ในหนังสือ Head First Go เล่มนี้มาก
ผมชอบเนื้อหาส่วน “there are no Dumb Questions”

ผมว่าเนื้อหาส่วนนี้ช่วยให้คนที่เคยเขียนภาษาอื่นมาก่อน เข้าใจธรรมชาติของ Golang มากขึ้น

และช่วยให้คนที่เขียน Golang มาซักพักแล้ว เข้าใจมากขึ้นว่า ผู้ที่พัฒนา Golang ขึ้นมา มีเจตนาอะไรที่เลือกทำอย่างนั้น

ในส่วนของเนื้อหา หนังสือเล่มนี้ก็ครอบคลุมส่วนหลัก ๆ ของ Golang ได้ครบถ้วนเพียงพอสำหรับมือใหม่ที่จะเริ่มเขียน Golang แล้ว

แต่สำหรับมือเก๋าอาจไม่ได้ความรู้อะไรเพิ่มเติมมากนัก บางประเด็นก็ไม่ได้ลงลึกนัก เช่น เรื่อง Channel ที่เนื้อหาหลักไม่พูดถึงเรื่อง buffer เลย แต่ก็ไปเก็บตกให้เล็กน้อยในส่วนของเนื้อหาท้ายเล่ม

ผมอ่านหนังสือเล่มนี้ใน oreilly.com ผมคิดว่าการจัด format ดีมาก ไม่ต่างจากหนังสือที่เป็นเล่มเลย ส่วนถ้าเป็น kindle ก็ไม่ได้แย่มาก แต่สู้อ่านใน oreilly.com ไม่ได้ (ลองไปกดดาวน์โหลด kindle version มาลองอ่านดูก่อนก็ได้ครับ)

หนังสือเล่มนี้หนา 560 หน้า ผมใช้เวลาอ่านวันละ 2-3 ชั่วโมง + coding ตามเนื้อหาแทบทุกส่วน และยังทดลองเพิ่มเติมเองเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น เรียกว่าอ่านละเอียดมาก อ่านเหมือนคนไม่เคยเขียน Golang มาก่อน ผมใช้เวลาอ่าน 10 วันก็จบครับ

……

มือใหม่ที่ต้องการศึกษา Golang ผมแนะนำหนังสือเล่มนี้เลยครับ