Categories
ภาวะผู้นำ

คุณลักษณะในการสร้าง “ผู้นำ” 10 ประการ (9) I = Improver นักพัฒนา สอนงานเป็น

I = Improver (นักพัฒนา สอนงานเป็น)

ผู้ที่สอนงานไม่ได้ ก็จะไม่สามารถที่จะเป็นผู้นำได้ เพราะ นอกจากการมี “ความไว้ใจ”ในในความรู้ความสามารถ “ความวางใจ” ในความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบแล้ว ผู้ตามยังมีความคาดหวังที่จะได้รับ “ความมั่นใจ” จากการพัฒนาจากผู้นำอีกด้วย

การพัฒนาความรู้ ความสามารถของทีมงาน นอกจากจะเป็นภารกิจในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจแล้ว ยังเป็นการพัฒนาตัวผู้นำเองอีกด้วย เพราะ จากการศึกษาพบว่า ความสามารถในการจำได้ และ เข้าใจ เปลี่ยนแปลงไปตามวิธีการเรียนรู้ ดังนี้

% ของความจำได้ และ เข้าใจ

อ่านเอง                              10%

ได้ฟัง                                 20%

ได้เห็นวิธีทำ                         30%

ได้ฟัง + ได้เห็นวิธีทำ             50%

ได้สอน                               70%

ได้สอน +ได้ลงมือปฏิบัติ         90%

Categories
ภาวะผู้นำ

คุณลักษณะในการสร้าง “ผู้นำ” 10 ประการ (8) H = Humanity ผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ สร้างทีมได้

H = Humanity ผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ สร้างทีมได้

การที่จะนำคนได้ จะต้องมีความเข้าใจในความต้องการ, บุคลิก ตลอดจน วัฒนธรรมของเขาก่อน จึงจะสามารถสร้างความยอมรับนับถือจากเขาได้ นั่นคือ สิ่งที่จะบอกสถานะของการเป็นผู้นำ

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้

การสร้างความอบอุ่นในการทำงานให้กับทีมงาน โดยไม่ปลีกตัวเหินห่าง เช่น ไม่ว่าจะมีภารกิจที่มากมายเพียงไร ก็ต้องจัดสรรเวลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน ร่วมทำงานกับทีมงาน (งานจริงๆ, ในพื้นที่จริง. ในเงื่อนไขจริง ไม่ใช่แค่ประชุม, ไม่ใช่แค่การลงเยี่ยม, มาใช่สั่งลูกน้องให้ตระเตรียมทุกอย่าง)

Categories
ภาวะผู้นำ

คุณลักษณะในการสร้าง “ผู้นำ” 10 ประการ (7) S = Self Control ผู้ควบคุมตัวเองได้ จึงได้ชื่อว่า “ผู้นำ”

S = Self Control (ผู้ควบคุมตัวเองได้ จึงได้ชื่อว่า “ผู้นำ”)

คนที่จะเป็นผู้นำที่ดี ควรจะมี

IQ (Intelligence Quotient) หมายถึง ความฉลาดด้านการเรียนรู้

EQ (Emotional Quotient) หมายถึง ความฉลาดด้านอารมณ์ ทำให้รู้จักควบคุมอารมณ์

MQ (Moral Intelligence Quotient) หมายถึง ความฉลาดด้านศีลธรรม ไม่คดโกงหรือเอาเปรียบคนอื่น

AQ (Advancement Intelligence Quotient) หมายถึง ความฉลาดด้านความมุ่งมั่น ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค

Categories
ภาวะผู้นำ

คุณลักษณะในการสร้าง “ผู้นำ” 10 ประการ (6) R = Responsibility ผู้มีความรับผิดชอบสูง เป็นที่เชื่อถือ

R = Responsibility ผู้มีความรับผิดชอบสูง จะเป็นที่เชื่อถือ

การเป็นแบบอย่างที่ดีในด้าน การมีความรับผิดชอบอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ทำให้ผู้นำได้รับความไว้วางใจจากคนอื่นๆ  เพราะคนมักจะเชื่อ ใน “สิ่งที่เห็น” มากกว่า “สิ่งที่ได้ยิน” (Actions speak louder than words)

มีท่านผู้รู้สอนไว้ว่า เมื่อมีข้อบกพร่อง ปัญหา หรือข้อผิดพลาดเกิดขึ้น

อย่าชี้นิ้วไปที่คนอื่น แล้วบอกว่าเขาผิด เพราะ

อีก 3 นิ้ว จะชี้เข้าหาตัวเอง

Categories
ภาวะผู้นำ

คุณลักษณะในการสร้าง “ผู้นำ” 10 ประการ (5) E = Endeavor ผู้มีความอดทน จะฝ่าฟันอุปสรรคได้

E = Endeavor ผู้มีความอดทน จะฝ่าฟันอุปสรรคได้

ผู้นำที่จะประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายไม่ใช่จะเป็นไปได้อย่างง่าย ๆ แม้ว่าผู้นำ จะมีความรอบรู้, มีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้องเหมาะสม, กล้าตัดสินใจลงมือทำ ตลอดจนมีความมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายอย่างไม่คลอนแคลนแล้วก็ตาม แต่เนื่องจาก “คน” มีความสลับซับซ้อนทางอารมณ์สูงมาก จึงต้องมีความเข้าใจพื้นฐานของ “คน” ดังนี้

1. คนมีความแตกต่างกัน เช่น สีผิว, ความรู้, ความเข้าใจ, ทักษะ, บุคลิก, วัฒนธรรม

2. คนเป็นสัตว์สังคม ต้องการเพื่อน, ชอบสร้างพวก

3. คนมีความต้องการที่ไม่สิ้นสุด ไม่เคยพอ, ได้คืบ จะเอาศอก

4. คนชอบเข้าข้างตัวเอง “กูเก่ง, กูถูก” เสมอ

5. คนพัฒนาได้

Categories
ภาวะผู้นำ

คุณลักษณะในการสร้าง “ผู้นำ” 10 ประการ (4) D = Drive ผู้มีความมุ่งมั่น จะบรรลุเป้าหมาย

D = Drive (ผู้มีความมุ่งมั่น มีความตั้งใจเด็ดเดี่ยว และเด็ดขาด จะบรรลุเป้าหมาย)

แรงขับเคลื่อนพื้นฐานที่ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้ เรียกว่า“สัญชาตญาณ” เช่น

ความหิว                                                                  (อาหาร    – กิน)

ความต้องการระบายของเสียออกจากร่างกาย         (ถ่าย        – ขี้)

ความต้องการเพศ                                                    (การมีคู่   – ปี้)

ความต้องการพักผ่อน                                              (ที่อยู่       – นอน)

Categories
ภาวะผู้นำ

คุณลักษณะในการสร้าง “ผู้นำ” 10 ประการ (3) A = Action ผู้กล้าตัดสินใจลงมือทำ มักประสบความสำเร็จ

A = Action (ผู้กล้าตัดสินใจลงมือทำ มักประสบความสำเร็จ)

เมื่อสร้างทิศทางที่ชัดเจนให้องค์กรแล้วว่า จะเดินไปทางไหน  ควรจะทำการปรับโครงสร้างองค์กร (Organization Structure), ระบบการทำงาน (Function & System), และกระบวนการทำธุรกิจ (Business Process) ให้สอดคล้อง(Aligning)กับทิศทางที่จะเดินไป เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภค รวมถึงการสร้างผลประโยชน์ให้สังคมส่วนรวม ไม่รอคอยโชคชะตา แต่เป็นคนกำหนดโชคชะตา, ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง สร้างจิตสำนึก ด้วยใจรักและมีความภูมิใจต่องานที่ทำ “ลงมือทำทันที” เพราะ “ การคิดเพียงอย่างเดียว” ย่อมไม่เกิดผลถ้าไม่มีการกระทำ เพราะ การตัดสินใจ เป็น บิดาของการกระทำ และ การลงมือทำ เป็น จุดเริ่มต้นแห่งความสำเร็จ

Categories
ภาวะผู้นำ

คุณลักษณะในการสร้าง “ผู้นำ” 10 ประการ (2) E = Eagle Eye ผู้มีวิสัยทัศน์ จะไม่เดินหลงทาง

E = Eagle Eye (ผู้มีวิสัยทัศน์ จะไม่เดินหลงทาง)

ผู้ที่จะสามารถนำทีมงานได้ จะต้องมีความสามารถในการสร้างทิศทางที่ชัดเจนให้องค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้ในระยะสั้นและเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว เรียกว่า “ผู้นำเชิงวิสัยทัศน์” (Visionary leadership)

การสร้างวิสัยทัศน์ ก็คือ การมองไปในอนาคตว่า อีก 5 – 10 ปี ธุรกิจและงานที่ทำอยู่นั้นจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร มีอะไรใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นบ้าง ดังนั้นธุรกิจ และองค์กรของตน “จะเป็น” อย่างไร และที่เหมาะสม “ควรจะเป็น” อย่างไร (Where you want to be)

ผู้นำ คือ  นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ดีขึ้น

Categories
ภาวะผู้นำ

คุณลักษณะในการสร้าง “ผู้นำ” 10 ประการ (1) Learner การเป็นผู้ใฝ่รู้ ทำให้เกิดปัญญา

1. L = Learner (การเป็นผู้ใฝ่รู้ ทำให้เกิดปัญญา)

โลกทุกวันนี้ คือ โลกแห่งการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน “ศตวรรษ” ที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงมากมาย และรวดเร็วมากกว่าใน “สองพันห้าร้อยปี หรือ พันล้านปี” ที่ผ่านมาเสียอีก

ลองย้อนกลับไปดูอดีต ว่ามีอะไรเกิดขึ้น

367 ปีที่ผ่านมา ในปี ค.ศ.1642 กาลิเลโอ สร้างกล้องโทรทรรศน์

259 ปีที่ผ่านมา ในปี ค.ศ.1750 เจมส์ วัตต์ สร้างเครื่องจักรไอน้ำ ใช้ปั่นด้าย

134 ปีที่ผ่านมา ในปี ค.ศ. 1876เกรแฮมเบล สร้างโทรศัพท์ส่งสัญญาณไปตามเส้นลวด

130 ปีที่ผ่านมา ในปี ค.ศ.1879 เอดิสัน สร้างหลอดไฟฟ้าขดลวด

125 ปีที่ผ่านมา ในปี ค.ศ.1884 (พ.ศ.2427) มีไฟฟ้าครั้งแรกในประเทศไทย

ใน “ศตวรรษ” ที่ผ่านมามีอะไรเกิดขึ้น

106 ปีที่ผ่านมา ในปี ค.ศ.1903 ตระกูลไรท์ สร้างเครื่องบิน

Categories
ธุรกิจ

สาเหตุ…ที่ทำให้คน “ไม่กล้าตัดสินใจ”

ในชีวิตประจำวันเราทุกคนล้วนต้องผ่านกระบวนการตัดสินใจตลอดเวลานับตั้งแต่เช้าจรดเย็นเช่นตัดสินใจว่าจะเลือกชุดไหนไปทำงานตัดสินใจว่าจะกินข้าวกับอะไรหรือแม้กระทั่งจะออกเดินทางไปยังที่ต่างๆก็ต้องอาศัยการตัดสินใจเป็นหลักทั้งสิ้น

แต่เมื่อคนเราเติบโตขึ้นมักจะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมและความเคยชินไม่กล้าคิดไม่กล้าทำไม่กล้าตัดสินใจหรืออาจต้องมีที่ปรึกษาเพื่อความมั่นใจในการตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา

พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเกิดจากหลายสาเหตุ   ซึ่งพอจะแยกได้เป็น 4 กลุ่มด้วยกันคือ