Categories
หนังสือ

หนังสือ The Power of Input – วิธีอ่านหนังสือ

การอ่านนอกจากจะเพื่อความบันเทิง เสริมความรู้ หรือพัฒนาตนเองแล้ว การอ่านยังช่วยแก้ปัญหาให้เราได้ด้วย ครั้งต่อไปที่เลือกซื้อหนังสือ ลองเลือกหนังสือที่น่าจะช่วยแก้ปัญหา ที่เรากำลังพบเจออยู่ดูครับ

การอ่านคือก้าวแรกของการเรียนรู้

การเรียนรู้มีขั้นตอนของมัน การทำตามขั้นตอนตามลำดับจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนรู้ การข้ามลำดับก็ส่งผลให้ประสิทธิภาพลดลง

ลำดับขั้นตอนในการเรียนรู้

  1. อ่านหนังสือ
    จะเรียนรู้อะไรให้เริ่มที่การอ่าน และเริ่มจากพื้นฐานของเรื่องนั้น ๆ ก่อน
  2. ดูวิดีโอหรือฟังคลิปเสียง
  3. เข้าเรียน ฟังบรรยาย หรือฟังสัมมนา
  4. เรียนแบบตัวต่อตัว
  5. สอนผู้อื่น

อ่านเร็ว V.S. อ่านละเอียด

ต่อให้เราอ่านหนังสือเดือนละ 10 เล่ม ถ้าเราไม่ทำ Output เลย เราจะจำไม่ได้ ไม่เข้าใจลึกซึ้ง เสียเงิน เสียเวลาเปล่า

ดังนั้นเมื่อเราอ่านหนังสือจบ 1 เล่ม ให้หยุดเพื่อทำ Output ก่อนที่จะเริ่มอ่านหนังสือเล่มต่อไป โดย Output ที่ต้องทำ มีตามลำดับดังนี้

  1. เขียน
    เขียนในสิ่งที่เราค้นพบ เขียนสิ่งที่จะลองทำตาม หรือเขียนรีวิวหนังสือเล่มนั้น
  2. เล่าให้คนอื่นฟัง อาจจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อน หรือคนที่ทำงานก็ได้
  3. นำสิ่งที่เราค้นพบไปปฏิบัติ
  4. สอนผู้อื่น

เมื่อเราทำตามนี้หลังอ่านหนังสือเล่มนึงจบ เราก็จะได้ความรู้ติดตัวแล้ว หลังจากนั้นค่อยเริ่มอ่านหนังสือเล่มต่อไป

ดังนั้นอย่าตั้งเป้าที่การอ่านหนังสือให้ได้มาก ๆ แต่ให้อ่านอย่างละเอียด ให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง อธิบายได้ รีวิวได้ หรืออภิปรายเรื่องนั้น ๆ กับผู้อื่นได้

วิธีหนึ่งที่ช่วยให้เราอ่านอย่างละเอียด คือ คิดไว้ก่อนอ่านหนังสือว่าเราจะเขียนรีวิวหรือจะอธิบายให้คนอื่นฟัง

เมื่อเราฝึกอ่านโดยละเอียดจนชำนาญแล้ว ค่อยอ่านให้เร็วหรืออ่านให้เยอะทีหลัง

เทคนิคหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการอ่านให้อ่านเร็วและอ่านได้ละเอียดขึ้น คือ “การอ่านข้ามไปมา”

การอ่านข้ามไปมา เหมาะสำหรับหนังสือทั่วไป หนังสือธุรกิจ แต่ไม่เหมาะกับหนังสือนิยายหรือการ์ตูน

การอ่านข้ามไปมาเริ่มที่การดูสารบัญ เลือกเรื่องที่อยากรู้ แล้วเริ่มอ่านจากส่วนนั้น

ซึ่งเมื่ออ่านแบบข้ามไปมา ให้เราเน้นที่

  • ส่วนท้ายของแต่ละบท
  • บทนำ
  • บทส่งท้าย
  • บทสรุป (มักอยู่ครึ่งหลังของหนังสือ)

เมื่ออ่านแบบข้ามไปมาเสร็จแล้ว เราจะเข้าใจภาพรวมของหนังสือ จากนั้นค่อยกลับมาอ่านตั้งแต่หน้าแรกจนจบอีกครั้ง ผู้เขียนบอกว่าการทำแบบนี้จะช่วยให้เราอ่านละเอียดและอ่านเร็วขึ้นถึง 2 เท่า นอกจากนี้ยังช่วยกำจัด “การดองหนังสือ” ได้ด้วย

การเลือกหนังสือ

ผู้เขียนแบ่งหนังสือตามคุณค่าเป็น 2 แบบ คือ

  1. หนังสือโฮมรัน
    หนังสือที่มีเนื้อหาให้เราค้นพบเยอะ ช่วยเราพัฒนาตนเองและเปลี่ยนแปลงชีวิตได้เยอะ
  2. หนังสือสไตรก์
    หนังสือที่แทบไม่มีอะไรให้เราค้นพบ ไม่ช่วยให้เราพัฒนาตนเองเลย

ผู้เขียนบอกว่าการ “เลือกหนังสือ” สำคัญกว่า “วิธีอ่านหนังสือ” เสียอีก เราจึงต้องลดหนังสือสไตรก์เพื่อเพิ่มโอกาสในการเจอหนังสือโฮมรัน

สำหรับมือใหม่ เมื่อรู้ว่าเราอยากอ่านหนังสือเพื่อพัฒนาตนเองในด้านไหน หรือแก้ปัญหาอะไรแล้ว ควรเริ่มจากหนังสือที่นักอ่านหรือผู้เชี่ยวชาญแนะนำ และควรเลือกให้เหมาะกับระดับของเราด้วย มือใหม่ควรเริ่มที่หนังสืออ่านง่าย ๆ เมื่อเราชำนาญแล้วก็ขยับไปอ่านเล่มที่ยาก ๆ ได้

นอกจากนี้การเลือกหนังสือ เราควรอ่านอย่างเป็นกลางและสมดุล คือ เมื่อเราศึกษาในเรื่องใด เราควรเลือก

  • หนังสือเป็นกลาง
  • หนังสือที่เราเห็นด้วย
  • หนังสือที่เราเห็นต่าง

แต่ถ้าไม่มีเวลา ให้อ่านแค่ “หนังสือที่เราเห็นด้วย ” และ “หนังสือที่เราเห็นต่าง” ก็พอ

ก่อนที่จะอ่าน เราต้องทำสมองให้ว่าง ไม่เอนเอียงไปด้าน เห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย หรือชอบ/เกลียด ซึ่งคนทั่วไปอาจทำไม่ได้เพราะมี “Confirmation Bias หรือ ความลำเอียงเพื่อยืนยัน” กับสมมติฐานหรือความเชื่อที่มีอยู่แล้ว

เมื่อเราอ่านทั้ง “หนังสือที่เราเห็นด้วย ” และ “หนังสือที่เราเห็นต่าง” แล้ว เราจะพิจารณาเรื่องนั้นได้อย่างสมดุล

การอ่านนิยาย

ประโยชน์ของการอ่านหนังสือนิยาย คือ

  1. ทำให้กลายเป็นคนรักการอ่าน เพราะหนังสือนิยายให้ความสนุก ความบันเทิง “คนที่ไม่ชอบอ่านหนังสือควรเริ่มจากการอ่านนิยาย
  2. ทำให้หัวดีขึ้น เพราะสมองได้รับการกระตุ้นมากขึ้นจากการอ่านหนังสือ
  3. ทำให้รู้จักเข้าอกเข้าใจผู้อื่น เพราะการอ่านนิยายเราต้องใช้อารมณ์ร่วมกับตัวละคร
  4. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ จากการต้องนึกภาพตาม
  5. ช่วยคลายความเครียด
  6. ทำให้เราลองสมมติตัวเองเป็นคนอื่น ช่วยให้เราเรียนรู้ผ่านชีวิตตัวละครในนิยาย
  7. สนุก

ซึ่งหนังสือนิยายและการ์ตูนก็เป็นหนังสือประเภทหนึ่งที่เหมาะกับการอ่านเป็น e-book อีกด้วย

e-book

ใครที่อ่านหนังสือเดือนละหลายเล่ม อาจลองอ่านแบบ e-book ดู เพราะว่า

  • ราคาถูกกว่าหนังสือแบบเป็นเล่ม
  • ซื้อง่าย ไม่ต้องเดินทาง ไม่ต้องรอ ซื้อแล้วอ่านได้ทันที
  • ไม่ใช้พื้นที่เก็บ
  • พกพาได้มากกว่า

แต่หนังสือเป็นเล่มก็ยังมีบางอย่างที่ดีกว่า เช่น

  • จดจำได้ง่ายกว่า (จากงานวิจัย)
  • อ่านง่ายกว่า
  • มีสมาธิสูงกว่า
  • อ่านแบบข้ามไปมาได้ง่าย
  • ไฮไลต์และเขียนแทรกได้ง่าย เพิ่มประสิทธิภาพการอ่าน

Categories
หนังสือ

หนังสือ The Power of Input – กฎพื้นฐานของ Input

ทุกวันนี้ข้อมูลความรู้ไม่ใช่สิ่งที่ขาดแคลนแล้ว เราสามารถหาข้อมูลในสิ่งที่เราอยากรู้ได้ทุกอย่าง เราจึงพยายามอ่านเยอะ ๆ เรียนรู้เยอะ ๆ แต่ถ้าเรารับ Input แล้วสุดท้ายจำไม่ได้ก็ไม่มีประโยชน์อยู่ดี

ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้พบว่าคนส่วนใหญ่จำสิ่งที่อ่านในแต่ละสัปดาห์ได้แค่ 3% เท่านั้น แต่ถ้าเรารับเฉพาะข้อมูลที่จำเป็น และเลือกที่จะไม่รับหรือทิ้งสิ่งที่ไม่จำเป็นซะ เราก็จะสามารถเพิ่มอัตราการจดจำข้อมูลได้ถึง 90% หรือเพิ่มขึ้น 30 เท่า เลยทีเดียว

ดังนั้นการรับ Input เป็นเรื่องของคุณภาพ มากกว่าเรื่องของปริมาณ และเมื่อเราคุมคุณภาพของ Input ได้แล้วค่อยเพิ่มปริมาณทีหลัง

หนังสือ The Power of Input เล่มนี้ มีกฎพื้นฐาน 3 ข้อ คือ

  1. ต้อง “ตั้งใจ”
    การรับ Input ห้ามทำไปงั้น ๆ แต่เราต้อง อ่านอย่างตั้งใจ ฟังอย่างตั้งใจ ดูอย่างตั้งใจ
  2. ตั้งเป้าหมายของการสร้าง Output ก่อน แล้วค่อยลงมือทำ Input
    เราต้องกำหนด Output ที่ต้องการให้เป็นรูปธรรมและกำหนดเวลาให้ชัดเจน เช่น เราวางเป้าหมายว่าต้องการสอบ TOEIC ให้ได้ 450 คะแนน ภายในสิ้นปีนี้ เพื่อที่จะไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ ดังนั้นเราจึงต้องศึกษาภาษาอังกฤษ ซึ่งการทำแบบนี้จะช่วยมองเห็นวิธีการเรียนที่ชัดเจนขึ้น รู้ว่าต้องซื้อหนังสือแบบไหน และใช้เวลาเรียนสัปดาห์ละกี่ชั่วโมง
  3. ทำ Input กับ Output ไปพร้อม ๆ กัน
    ซึ่งเรื่องนี้ก็คือ “บันใดวนแห่งการพัฒนาตนเอง” ในหนังสือ The Power of Output นั่นเอง เช่น เมื่อเราอ่านหนังสือเราควรจดไปด้วยและเมื่อเราอ่านจบเราควรเขียนรีวิว เขียนสรุป หรือเล่าให้เพื่อนฟัง

เทคนิคการทำ Input ให้เกิด Output มากขึ้น

เทคนิคที่จะช่วยให้เราจดจำ Input ได้มากขึ้น หรือสร้าง Output ได้มากขึ้นก็คือ การตั้งเป้าหมายการทำ Output ไว้ล่วงหน้า ผู้เขียนบอกว่าการทำแบบนี้จะเพิ่มประสิทธิภาพได้ 100 เท่า เลยทีเดียว

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อหัวหน้าให้เราไปเข้าอบรมเป็นเวลา 3 วันและบอกกับเราว่าต้องกลับมาสอนคนในบริษัทเป็นเวลา 3 ชั่วโมง เราคงจะตั้งใจฟัง จดเนื้อหาที่สำคัญ และจดจำได้มากขึ้นอย่างแน่นอน

วิธีเก็บเฉพาะข้อมูลที่จำเป็น

ผู้เขียนพูดถึง Cocktail party effect ว่า เมื่อเราอยู่ในงานปาร์ตี้ที่มีคนเยอะ ๆ แล้วมีใครซักคนพูดถึงชื่อเรา เราก็ยังจะได้ยินแม้อยู่ท่ามกลางเสียงดังก็ตาม

นั่นเป็นเพราะในสมองของเรามี “สมาธิเลือกสรร (Selective Attention)” หรือที่ในหนังสือเล่มนี้เรียกว่า “การตั้งเสาอากาศแห่งความสนใจ” มาช่วยเราเก็บเฉพาะข้อมูลที่มีความสำคัญ

เทคนิคที่จะช่วย “ตั้งเสาอากาศแห่งความสนใจ” คือ

  1. เขียนคีย์เวิร์ดของสิ่งที่เราสนใจ แล้วกลับมาดูเป็นครั้งคราว
  2. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน ว่าเราจะเรียนรู้อะไรจาก Input นั้น ช่วยให้สมองเราเลือกรับรู้จุดที่มีความสำคัญได้โดยอัตโนมัติ
  3. ตั้งคำถามกับตัวเอง เพราะเวลาที่สมองถูกถาม มันจะพยายามหาคำตอบของคำถามนั้น
  4. ตั้ง Output ไว้ล่วงหน้า เช่น อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วจะเขียนรีวิว ซึ่งการตั้ง Output ไว้ล่วงหน้าเป็นวิธีที่ดีเยี่ยมสำหรับการตั้งเสาอากาศแห่งความสนใจ

เพิ่มความสามารถในการจดจำด้วยอารมณ์

สมองเราจะจดจำได้ดีขึ้นเมื่อเรื่องนั้น ๆ มีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อเพิ่มความสามารถของสมองในการจดจำ Input เราควรที่จะ

  1. สร้างให้เป็นเรื่องราว อาจประยุกต์เป็นการอ่านในรูปแบบการ์ตูนหรือนิยาย
  2. เรียนรู้ในสิ่งที่รู้สึกตื่นเต้น อยากรู้อยากเห็น
  3. เมื่อซื้อหนังสือมาให้อ่านทันที เพราะตอนนั้นเรามีความรู้สึกอยากอ่าน
  4. เมื่อมีข้อสงสัย ให้หาคำตอบทันที
  5. นำเสนอต่อหน้าผู้อื่น เพราะความตื่นเต้น+การสอน จะช่วยเพิ่มความจำ
  6. พยายามเชื่อมโยง “ความประทับใจ” กับ “การเรียนรู้”
  7. เรียนรู้จากการท่องเที่ยว เพราะมีทั้งความตื่นเต้น ความระทึกใจ และประทับใจ
Categories
หนังสือ

หนังสือ The Power of Output – ศิลปะของการปล่อยของ

ก่อนหน้านี้ผมพยายามอ่านให้เยอะ เรียนให้เยอะ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็น Input แต่หนังสือ “The Power of Output – ศิลปะของการปล่อยของ” เล่มนี้บอกว่าสิ่งที่สร้างผลกระทบกับชีวิตหรือพัฒนาตัวเราได้มากกว่า คือ Output

หนังสือแนะนำให้สัดส่วน Input : Output = 3:7

โดยหนังสือจะย้ำให้เห็นแผนภาพความสัมพันธ์ระหว่าง Input, Output และ Feedback

  • Input ต้อง “เลือกรับรู้” หนังสือไม่ได้ลงรายละเอียดมากนัก เพราะมีหนังสืออีกเล่มชื่อ Input ที่เขียนโดยผู้เขียนคนเดียวกัน
  • Output หนังสือแบ่งออกเป็น การพูด การเขียน และการลงมือทำ ซึ่งครอบคลุมในหลายประเด็น มีคำแนะนำที่น่าสนใจที่สามารถนำมาปรับใช้ได้มากมาย
  • Feedback เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนา Input, Output ให้ดีขึ้น เช่น ถ้าเป็นงานเขียนก็แชร์ใน Social Network ของเรา หรืออาจหาคนที่ให้คำแนะนำเราได้

เช่น

ตัวอย่างที่ 1 เมื่อเราอ่านหนังสือเล่มนึงจบ (Input) เราต้องเขียนสรุปหรือ Review ออกมา (Output) แล้วเราต้องนำไปให้คนอื่นอ่านเพื่อรับความคิดเห็นมาพัฒนาตัวเองต่อไป (Feedback)

ตัวอย่างที่ 2 เมื่อเราเรียนคอร์สเขียนโปรแกรมทางออนไลน์ (Input) เราต้องคิดและทำโปรเจคโดยใช้ความรู้ที่เราเรียนมา (Output) และนำไปเผยแพร่ให้เพื่อนหรือนำขึ้น Store ให้ผู้อื่นใช้งาน รับคำแนะนำและความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงต่อไป (Feedback)

นอกจาก Input, Output และ Feedback แล้ว หนังสือเล่มนี้ยังเน้นย้ำเรื่องการตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย (ต้องมีความยากเล็ก ๆ) ความสนุก และความสม่ำเสมอด้วย

โดยรวมแล้วหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาค่อนข้างเยอะ แต่อ่านง่าย อ่านได้เร็ว แบ่งเป็นหัวข้อสั้น ๆ 2-3 หน้า มีภาพประกอบเยอะ มีสรุปสั้น ๆ และไฮไลต์ส่วนสำคัญมาให้เลย

ส่วนตัวแล้วผมชอบหนังสือเล่มนี้นะครับ และคงต้องหยิบมาดูคำแนะนำแต่ละส่วนซ้ำ ๆ อีกหลายครั้ง

อ่านจบแล้วผมคงต้องจัดสรรเวลาใหม่ ต้องสร้าง Output ให้มากขึ้น แชร์ให้ผู้อื่นได้อ่านได้เห็นผลงานเพื่อรับ Feedback และที่สำคัญต้องทำทุกวัน

Categories
UX

แอบฟังเสียงผู้ใช้งาน

ผมนั่งฟังแฟนของผมประชุมกับที่ทำงาน เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ที่จ้างภายนอกพัฒนา

หลายประเด็นเกี่ยวกับ UX น่าสนใจและเป็นบทเรียนที่ดี

  1. ความไม่สะดวกเพียงแค่เล็กน้อย แต่ส่งผลกับผู้ใช้มากถ้าต้องใช้ซอฟต์แวร์นั้นเยอะๆทั้งวันถ้านักพัฒนาคิดมากขึ้นและลงแรงอีกนิดจะช่วยผู้ใช้งานได้เยอะเลย เราต้องลงแรงให้มากที่สุดในการออกแบบ UX เท่าที่ resource (คน+เวลา) มี
  2. feedback การใช้จริงแบบนี้มีผลมากกับนักพัฒนา ถ้านักพัฒนาได้ฟัง ซอฟต์แวร์เวอร์ชันต่อไปจะดีขึ้นอย่างมาก

ผมคิดว่าข้อ 2 นี่สำคัญมาก ทำอย่างไรเราจะได้ฟังความคิดเห็นแท้จริงจากผู้ใช้(พูดในสิ่งที่คิดทั้งหมด) และไม่ผ่านการกรองของคนอื่นที่ไม่ใช่ผู้ใช้งานจริง ๆ

Categories
Artificial Intelligence

คอร์ส Machine Learning ฟรี 100%

Categories
การพัฒนาซอฟท์แวร์

เปิด UML class diagram ใน IntelliJ

กด Ctrl+Alt+U เพื่อเปิด UML class diagram

Categories
Productivity

Tips ~ ทำงานง่ายขึ้น

  1. เก็บโทรศัพท์มือถือไว้ในลิ้นชัก โดยยึดหลัก 3 ข้อนี้
    • ไม่ให้มองเห็น โดยการเก็บไว้ในลิ้นชัก
    • ไม่ให้ได้ยิน โดยเปิด Do not disturb
    • ไม่ให้เข้าถึง เช่น เก็บไว้ไกล ๆ หรือล็อคลิ้นชัก
  2. เลือกรายการใน Todo list มา 3-5 รายการที่สำคัญที่สุด เขียนใส่กระดาษโน้ต เรียงลำดับความสำคัญ เริ่มทำรายการแรก
  3. ใช้ Software มาช่วย Block ไม่ให้เราเข้าเว็บ เช่น Facebook ในเวลาทำงาน เช่น Block Site ใน Google Chrome และควรใช้บนมือถือด้วย
  4. ระหว่างทำงานถ้ามีอะไรมาดึงความสนใจหรือเราวอกแวกไปคิดเรื่องอะไร ให้จดใส่กระดาษไว้ งานเสร็จจะกลับมาดูก็ได้
  5. ออกไปเดินซักนิดก่อนเริ่มทำงานยาก
Categories
OS

เพิ่มพื้นที่บน macOS

สำหรับตัวเอง ใคร search มาเจอก็เอาไปเลือกใช้เองนะครับ ไฟล์อะไรหายไม่รับผิดชอบนะ

  1. clear cache Homebrew
    • brew cleanup -s
    • rm -rf $(brew –cache)
  2. clear cache Gradle
    • rm -rf $HOME/.gradle/caches/
    • ในแต่ละโปรเจค ./gradlew cleanBuildCache
  3. เลือกลบ cache ใน ~/Library/Caches ที่เคลียร์ได้ เช่น
    • GoLand20xx.x
    • IntelliJIdea20xx.x
    • JetBrains
    • Yarn
    • Google/Chrome
    • Google/AndroidStudioX.X
    • PhpStormXXXX.X
    • PyCharmXXXX.X
    • CocoaPods
    • com.apple.dt.Xcode <– Xcode.app Cache
  4. ~/Library/Developer/Xcode/DerivedData/Runner-xxxx
  5. ~/Library/Developer/Xcode/Archives/xxxxxx
  6. ~/Library/Containers/com.tinyspeck.slackmacgap/Data/Library/Application Support/Slack/Cache
  7. ~/Library/Application Support/Code/Cache
Categories
ข้อคิดดีๆ

แค่เรียนรู้ตลอดเวลายังไม่พอ

ปีนี้มีทั้งช่วงที่ทำแต่งานจนไม่เวลาเรียนรู้สิ่งใหม่ ช่วงที่ว่างและเรียนคอร์สออนไลน์มากมาย และช่วงนี้ที่ทำงานเยอะแต่หาเวลาเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทุกวัน

พบว่าการเรียนรู้เยอะ ๆ ก็ไม่ได้มีประโยชน์เท่าไหร่ ได้แค่รู้ ต้องนำความรู้ไปใช้ด้วย เพื่อที่จะรู้จริง รู้ลึก รู้ปัญหา รู้ที่มา จนเข้าใจและทำเป็น ไม่ใช่แค่จำเค้ามาพูดต่อ

แต่การทำงานเยอะโดยไม่ได้เรียนรู้สิ่งใหม่เลยนั้นก็แย่พอกัน ไม่รู้สึกว่าทำงานได้ดีขึ้นเลย ใช้แค่สิ่งที่เคยรู้มา บ้างก็คิดเอาเอง ทั้ง ๆ มีเครื่องมือหรือวิธีที่ดีกว่าแต่เราไม่รู้ เราก็ไม่พัฒนา

ต้องเรียนรู้อยู่เสมอ และต้องนำความรู้ไปใช้จริงด้วย ไม่อย่างนั้นไม่มีประโยชน์เท่าไหร่

Categories
การตลาด

[สรุป] ทำ Marketing สำหรับ Mobile app ให้รุ่ง

ในยุคนี้มี app มากมายไปหมด จะทำ marketing strategy ยังไงให้ดึงดูดใจ และ Hook ให้กลุ่มเป้าหมาย download แอพของเรา

เนื้อหา

ตอนนี้ผู้คนอ่าน ดู และฟังสิ่งต่างๆ ด้วยเวลาที่สั้นลง เพราะข้อมูลในแต่ละวันมีมากขึ้น เราจะทำยังไงให้ดึงดูด หรือสร้างความสนใจให้นานพอที่จะดาวน์โหลดหรือจ่ายเงินซื้อสินค้า

  • Screenshots ทำให้เค้าชอบและอยากใช้ อาจจะแสดงหน้าจอที่แสดงความเจ๋ง คุณค่าสูงสุดที่แอพให้กับเค้า หรือ feature ที่สำคัญที่สุด
  • Videos แสดงให้เห็นว่าจะใช้ในสถานะการจริงได้ยังไง ความสำคัญอยู่ที่เรื่องที่เล่าเพื่อให้เค้าอิน
  • Infographic ใช้รูปคุณภาพสูง เพื่ออธิบายคุณค่าสูงสุดที่โดดเด่น แตกต่าง ที่โน้มน้าวเค้าได้

ที่สำคัญอย่าลอกคนอื่น เพราะไม่มีอะไรดีที่สุดกับทุกงาน จงลงทุนกับการสร้างสรรค์ เพื่อให้ลูกค้าจำแบรนด์ของเราได้

และที่สำคัญมากคืองานต้องสดใหม่และอัพเดตอยู่เสมอ บอกให้เค้ารู้ถึงกำหนดปล่อย feature ใหม่ก็ได้ และถ้ากลายเป็น viral ในทางบวกจนมีการแชร์ต่อจะถือว่าประสบความสำเร็จ

การสื่อสารกับผู้รับสาร

เก็บเกี่ยวทุก feedback และข้อมูลจากลูกค้า เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับ MVP (minimum viable product) ทั้งปรับ Product และ Workflow

การปรับกลยุทย์หลังจากได้ข้อมูลมาเป็นเรื่องปกติ แต่ต้องมี metrics ที่โปร่งใสและมาประสิทธิภาพ จากนั้นแปลผลให้ดี เพื่อนำมาสู่ไอเดียใหม่ ๆ

หัวใจของ marketing คือการเข้าใจลูกค้า สื่อสารให้มาก เพราะเราไม่สามารถรู้ทุกอย่างจากลูกค้าไม่กี่คน และสำคัญมากที่ต้องดูพฤติกรรมแฝงด้วย ดูให้กว้างและลึกที่สุด

Social Media เป็นสื่อสำคัญระหว่างเรากับลูกค้า ต้องใส่ใจ ให้เวลา ให้ลูกค้ารู้สึกถึงปฏิสัมพันธ์ของทั้ง 2 ทาง ไม่ใช่ไม่ตอบสนอง ให้เค้ารับรู้ถึงการสื่อสารกับ “คน” ไม่อย่างนั้นเค้าจะหนีไป   –ก็เหมือนกับชีวิตจริง

จะดีมากถ้าลูกค้าให้ feedback ผ่านแอพได้ใน click เดียว

ชื่อและ Logo

นี่อาจเป็นสิ่งที่เราให้ความสนใจมาก แต่อย่าให้มันหลอกเรา จนลืมสนใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างลูกค้า

ชื่อที่เป็นการเล่นคำกำลังได้รับความนิยม(อาจเป็นเพราะชื่อทั่วไปมีคนใช้หมดแล้ว) แต่ระวังว่าลูกค้าต้องอ่านออกทุกคน ออกเสียงได้ง่าย จำได้ง่าย   –ชื่อที่ดีคิดยากแต่คุ้ม

ไม่ต้องคาดหวังถึงขั้นลูกค้าจะวาด logo ของเราได้ แค่เห็นแล้วจำได้ ไม่ต้องยัดอะไรลงไปเยอะแยะ ยังมีงานส่วนอื่นให้ยัดไอเดียอีกเยอะ

ทำให้รู้สึกตื่นเต้น

ทุกวันนี้แอพเยอะทำให้ผู้คนรู้สึกชินกับการสื่อสารแบบต่าง ๆ แล้ว ต้องทำให้เค้าสนใจให้ได้ การทำให้เค้าพูดถึง และเป็น word of mouth บน Social Media ควรเป็นเป้าหมาย

ส่งมอบคุณค่า และทำให้ชัดเจน

ผู้คนคาดหวังว่า app ต่าง ๆ จะแก้ปัญหาของเค้าได้ เราต้องสื่อสารว่า app เราดีที่สุดที่เค้าตามหา เราควรสื่อสาร product positioning ออกไปได้ในประโยคเดียว ต้องทำให้เค้าสนใจทันทีที่เห็น เพราะเรามีโอกาสไม่มากนัก

จำเป็นต้องระบุกลุ่มเป้าหมาย ใครต้องการ app ของเรา? ทำไมเค้าถึงต้องการ? จะอธิบายพวกเค้าอย่างไร? และที่สำคัญ เราแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร? ทำให้ถูกต้องในเวลาที่เรายังมีโอกาสทำได้

ต้องให้ข้อมูลในครั้งเดียว พอเค้าโดน hook ค่อยให้รายละเอียด

ทำ SEO ให้ถูกพบได้ง่าย หา keywords, sentences ที่เค้าใช้ และทำ #hashtags บน Social Media ด้วย