Categories
Social media คณิตศาสตร์

Elo Rating System ที่ใช้ใน Facemash

ถ้าใครเคยดูหนังเรื่อง The Social Network ก็จะทราบว่าสมัยที่ Mark Zuckerberg ยังเรียนอยู่ และยังไม่ได้ทำ Facebook เขาเคยทำเว็บ Facemash มาก่อน ด้วยการรวบรวมรูปภาพของนักศึกษาหญิงใน Harvard แล้วนำมาสุ่มประกบคู่กัน ให้นักศึกษาชายเข้าไปเลือกว่าคนไหนสวยกว่ากัน จากนั้นก็จัดอันดับสาวๆ ทั้งหมดว่าใครเป็นเบอร์หนึ่ง ใครนึกไม่ออกว่าเป็นยังไง ลองเข้าไปเล่นที่ Facemash.com.auเป็นเว็บที่มีคนทำขึ้นมาเพื่อล้อกับหนัง

เบื้องหลังของเว็บ Facemash มีอัลกอริธึมที่ในหนังแสดงให้เห็นว่า Mark ถามจากเพื่อน และเพื่อนจึงเขียนสูตรคณิตศาสตร์ลงบนหน้าต่าง เจ้าสูตรที่ว่านี้มีชื่อว่า Elo Rating System

EA=1/(1+10(RB−RA)/400)

คนที่คิดค้นสูตรนี้คือ Arpad Elo เป็นอาจารย์ด้านฟิสิกส์ สูตรนี้ถูกใช้ในเกมการแข่งขันหลายๆ อย่าง เช่น หมากรุก ฟุตบอล อเมริกันฟุตบอล บาสเกตบอล รวมถึงเกมคอมพิวเตอร์หลายๆ เกม

Elo Rating System เป็นสูตรสำหรับคิดคะแนนของการแข่งขันแบบ 1 ต่อ 1 โดยนำระดับความสามารถของแต่ละฝ่ายมาเป็นปัจจัยในการคิด อธิบายแบบง่ายๆ ก็คือ ถ้าคนที่แกร่งกว่ามาแข่งกับคนที่อ่อนกว่า ถึงแม้คนที่แกร่งกว่าจะชนะ แต่เขาก็จะได้คะแนนเพิ่มไม่มาก แต่ถ้าคนที่อ่อนกว่าเกิดชนะคนที่แกร่งกว่าขึ้นมา แบบนี้คนที่อ่อนกว่าจะได้คะแนนเพิ่มเยอะมาก และคนที่แกร่งกว่าก็จะเสียคะแนนลงไป เมื่อการแข่งขันผ่านไปหลายแมทช์ ระบบนี้จะได้คนที่แกร่งจริงๆ ขึ้นมาเป็นผู้นำ ไม่ใช่คนที่แกร่งเพราะจับฉลากได้สายอ่อน เจอแต่คู่ต่อสู้กระจอกๆ จนเข้ารอบชิง

Categories
Social media ไอเดีย

Nicholas Feltron – ศาสตร์แห่งข้อมูล ศิลป์แห่งการนำเสนอ

ภาพประกอบจาก terremotobcn

ก่อนที่จะโดนชักชวนมาร่วมทีมกับเฟสบุค Nicholas นั้นมีชื่อเสียงอย่างมากในการสรรค์สร้าง Infographics หรือการแปลความหมายของชุดข้อมูลดิบต่างๆที่เป็นเชิงสถิติ เป็นตัวเลขอันซับซ้อน ให้ออกมาเป็นรูปภาพ เป็นกราฟฟิคที่สวยงาม สามารถนำเสนอและอธิบายชุดข้อมูลที่เข้าใจยากๆเหล่านั้นได้ลงตัว

วิธีการเหล่านี้เรียกว่าการทำ Data Visualization ผลงานของ Nicholas ส่วนใหญ่จะได้รับว่าจ้างจากบริษัท องค์กรต่างๆ ให้จัดทำรายงานประจำปี (Annual Report) หรือบางครั้งก็เป็นการโชว์ผลการวิจัยของพวก Research firm ต่างๆโดยให้เขามาถ่ายทอดออกเป็น Infographics ทีสวยงาม

จุดลงตัวของศาสตร์และศิลป์

ทำรายงานให้ชาวบ้านมาก็เยอะ ผลงานหลายอันได้รับการแชร์ต่อกันทั้งโลกก็แยะ อยู่มาวันหนึ่งเขาเกิดสงสัยว่า แล้วชีวิตตัวเองล่ะ จะสามารถถ่ายทอดออกมาเป็น Infographics ได้หรือไม่ ?

ว่าแล้วในปี 2005 เขาก็เริ่มเก็บข้อมูลของตัวเองในทุกๆวัน คล้ายๆกับการบันทึกในไดอารี่ โดยทุกกิจกรรมของชีวิต เริ่มตั้งแต่ เดินทางไปไหนบ้าง ฟังเพลงโหลดเพลงอะไรมาบ้าง ถ่ายรูปมากี่รูป ที่ไหนบ้าง ดูหนังอ่านหนังสืออะไรบ้าง กินอะไรบ้าง เข้าเว็บไรบ้าง กินเหล้าที่ไหนบ้าง (สุดยอด ขอคารวะ)

จากนั้นก็นำมาถ่ายทอดออกเป็น Infographics ที่สวยงามที่ผมเชื่อว่าหลายๆคนคงเคยผ่านตามาบ้างแล้ว จากนั้นมาในทุกๆปี Nicholas ก็จะออกรายงานประจำปีส่วนตัวมาโดยเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เก็บ ให้ยิ่งประหลาดขึ้นเรื่อยๆ เช่น ทำลายต้นไม้ไปกี่ต้น โศกเศร้าอารมณ์ดี แฮปปี้เมื่อไรบ้าง ส่งโปสการ์ดไปกี่ใบ ซึ่งรายงานประจำปีทั้งหมดสามารถดูได้ที่นี่ครับ

ภายหลังจากนั้น Nicholas ก็ได้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ DayTum.com ขึ้นมา เพื่อให้คนทั่วไปได้เก็บข้อมูลชีวิตประจำวันของตัวเองแบบตัวเขาบ้างแล้วนำเสนอในรูปแบบ Infographic ได้

Categories
Social media

The science of social timing

the science of social timing