หนังสือบน Goodreads
รีวิว
คะแนน 4.8/5⭐
หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่แนะนำอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องสุขภาพ เนื้อหาเน้นย้ำถึงความสำคัญของโปรตีนต่อร่างกายในหลากหลายแง่มุม พร้อมคำแนะนำเกี่ยวกับปริมาณโปรตีนขั้นต่ำที่เหมาะสมสำหรับแต่ละช่วงวัย นอกจากนี้ยังมีข้อมูลปริมาณโปรตีนในอาหารหลายชนิดอย่างละเอียด
เนื้อหาของหนังสือเหมาะสำหรับทุกคน นำเสนอในรูปแบบที่อ่านง่าย สั้น กระชับ เป็นหนังสือเล่มบาง ๆ มีภาพประกอบช่วยให้เข้าใจได้ง่าย ใช้เวลาอ่านไม่นาน ถึงแม้จะมีข้อมูลวิทยาศาสตร์และกราฟประกอบอยู่บ้าง แต่ไม่ได้ลงลึกถึงงานวิจัยหรือรายละเอียดซับซ้อน อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าเนื้อหาเท่านี้ก็เพียงพอและครบถ้วนต่อการดูแลสุขภาพสำหรับทุกคนแล้วครับ
ความสำคัญของโปรตีน
- โปรตีนจำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย โดยเฉพาะการสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อ
- การบริโภคโปรตีนมากเกินในมื้อเดียวจะถูกขับออกทางปัสสาวะ ไม่สะสมในร่างกาย
- ควรรับโปรตีนจากทั้งแหล่งพืชและสัตว์เพื่อความสมดุล
- โปรตีนที่ดีควรมี กรดอะมิโนจำเป็นทั้ง 9 ชนิด ในปริมาณที่สมดุล
ประโยชน์ของโปรตีน
- ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ เพิ่มความเสถียร
- บริโภคโปรตีนเพียงพอช่วยให้ผิวพรรณดีและลดการสูญเสียกล้ามเนื้อ
- มีความสำคัญต่อผู้สูงอายุ ช่วยป้องกันภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia)
- ช่วยให้การลดน้ำหนักมีประสิทธิภาพและป้องกันโยโย่เอฟเฟกต์
ปริมาณโปรตีนที่ควรบริโภค
- คนออกกำลังกาย: 1.6 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
- คนทั่วไป: 0.9 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
- ผู้สูงอายุ: 1.06 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
- ตัวอย่าง: เนื้อสัตว์ขนาด 1 ฝ่ามือ = โปรตีนประมาณ 20 กรัม ควรบริโภค 20-30 กรัมต่อมื้อ
สารอาหารที่ช่วยเสริมโปรตีน
- วิตามิน D: ช่วยสร้างกล้ามเนื้อ
- วิตามิน B1: ลดอาการเหนื่อยล้า
- แคลเซียม, วิตามิน C, เหล็ก, สังกะสี, และ คาร์โบไฮเดรต: ช่วยสนับสนุนการทำงานของร่างกายร่วมกับโปรตีน
เคล็ดลับการบริโภคโปรตีน
- ควรบริโภคโปรตีนในมื้อเช้าเพื่อเริ่มต้นวันอย่างสมดุล และทานให้สมดุลในทุกมื้อ
- เลือกเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน หรือบดเพื่อการย่อยง่าย
- หากจำเป็น โปรตีนผงสามารถช่วยเสริมได้
- หลีกเลี่ยงโปรตีนแปรรูป เพราะมีปริมาณโปรตีนต่ำ ดูดซึมยาก และไขมันสูง
การออกกำลังกายและโปรตีน
- กล้ามเนื้อจะสลายระหว่างออกกำลังกาย จำเป็นต้องทานโปรตีนเพียงพอเพื่อเสริมสร้าง
- ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อมีประสิทธิภาพมากกว่าเน้นการเผาผลาญอย่างเดียว
- เน้นการฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น กล้ามเนื้อขา
- การบริโภคโปรตีน:
- ก่อนออกกำลังกาย: บริโภคเล็กน้อยเพื่อลดการสูญเสียกล้ามเนื้อและเพิ่มพลังงาน
- หลังออกกำลังกาย: บริโภคเพื่อการซ่อมแซมและสร้างกล้ามเนื้อ
- วันพักผ่อนก็ต้องบริโภคโปรตีนให้เพียงพอ
การนอนหลับ
- การนอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อวันอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการอ้วน และไม่ดีต่อสุขภาพด้วย
- ควรนอน 7-9 ชั่วโมง การนอนมากไปหรือน้อยไปล้วนไม่ดี
แอลกอฮอล์และโปรตีน
- การดื่มแอลกอฮอล์ลดการสังเคราะห์โปรตีนในร่างกายลงถึง 30-40%
Sarcopenia (ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย)
- ภาวะนี้อาจส่งผลให้เกิดโรคหลายอย่าง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน คอเลสเตอรอลสูง
- การป้องกัน: บริโภคโปรตีนเพียงพอและออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การลดน้ำหนักและโปรตีน
- การบริโภคโปรตีนเพียงพอช่วยป้องกันการสูญเสียกล้ามเนื้อ ลดความเสี่ยงต่อการลดค่า BMR (อัตราเผาผลาญพื้นฐาน)
- กล้ามเนื้อลดลงตามอายุ:
- หลังอายุ 20 ปี: กล้ามเนื้อลดลงเล็กน้อย
- หลังอายุ 40 ปี: ลดลง 8-10% ทุก 10 ปี
- หลังอายุ 70 ปี: ลดลง 15% ทุก 10 ปี
- การเพิ่มกล้ามเนื้อช่วยให้รูปร่างดูดีและผอมเพรียว